หน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา


(ที่มาของภาพ : คุณสุรพงษ์ รัตนมงคล)

    ในปี พ.ศ. 2413 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอินทวิชยานนท์(พระเจ้านครเชียงใหม่) ได้ทรงส่งใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพมหานครว่า มีชาวพม่า ไทลื้อ และไทเขิน จากเมืองเชียงตุงประมาณ 300 ครอบครัวได้อพยพลงมาอยู่เมืองเชียงแสนและตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของสยามและล้านนา จึงแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากเมือง ถ้าอยากจะอยู่ ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่มีใครยอมออกไป
     ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้านครเชียงใหม่จึงทรงเกณฑ์กำลัง 4,500 คน จากเมืองต่าง ๆ ยกทัพจากนครเชียงใหม่มาเมืองเชียงรายและ เมืองเชียงแสน ไล่ชนเหล่านั้นออกจากเมืองเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2423 ได้ทรงให้เจ้าอินต๊ะ พระโอรสในพระเจ้าลำพูนไชย เป็นพระยาเดชดำรง เจ้าเมืองเชียงแสนองค์แรก และให้พระเจ้าผู้ครองนครลำพูนทรงเกณฑ์ราษฎรจากหลาย ๆ เมืองประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นมาตั้งรกราก "ปักซั้งตั้งถิ่น" อยู่ที่เมืองเชียงแสนจวบจนถึงปัจจุบันต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทางราชการได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองไปอยู่ที่ตำบลกาสา เรียกชื่อว่า อำเภอเชียงแสน ส่วนบริเวณเมืองเชียงแสนเดิมถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง ขึ้นกับอำเภอเชียงแสน และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2482 (โดยอำเภอเชียงแสนซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลกาสานั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอแม่จันแทน) จนกระทั่งได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเชียงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา



ตำนานเมืองเชียงแสน








ที่มา


ที่ตั้งและอาณาเขต

  


สถานที่ตั้ง

       เมืองเชียงแสนมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ดอยเชี่ยงเมี่ยง (บ้านสบรวก) เขตสุขาภิบาลเวียงเชียงแสนและเขตบ้านเชียงแสนน้อย ตำบลเวียงอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมีทำเลที่ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง มีพื้นที่ประมาณ 2,870 ไร่ 3 งาน 12 ตารางวา หรือประมาณ 4.75 ตารางกิโลเมตร


อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่สาย รัฐฉาน(ประเทศพม่า) และแขวงบ่อแก้ว(ประเทศลาว)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว(ประเทศลาว) และอำเภอเชียงของ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเชียงของ อำเภอดอยหลวง และอำเภอแม่จัน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่จันและอำเภอแม่สาย


ความสำคัญต่อชุมชน


   เมืองเชียงแสน เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก



ลักษณะทางสถาปัตยกรรม





    สถาปัตยกรรมในเมืองเชียงแสนที่หลงเหลือหลักฐานอยู่ในปัจจุบันได้แก่ พระเจดีย์ ซึ่งมี 2 แบบ คือเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงปราสาท ที่แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของศิลปะจีน ศิลปะพม่าแบบพุกามและศิลปะสุโขทัย ต่อมาได้พัฒนาจนเป็นรูปแบบของตนเอง




ที่มา


สถานที่ท่องเที่ยว

1. วัดพระธาตุเจดีย์หลวง


       
(ที่มาของภาพ : คุณสุรพงษ์ รัตนมงคล)
  
     เจดีย์หลวงคือเจดีย์ประจำเมืองเชียงแสนที่สร้างขึ้นมาในช่วงต้นของการสร้างเมืองเชียงแสน การสร้างนั้นสร้างตามหลักการสร้างวัดตามโบราณคือ มีเจดีย์ประธานอยู่กลาง มีเจดีย์รายล้อมรอบทั้ง 4 มุม และมีพระอุโบสถอยู่ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆังฐานสูงแปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดของเมืองเชียงแสน ทัวร์ดอยพานักท่องเที่ยวไปสถานที่นี้อยู่บ่อยๆ เจดีย์หลวงสร้างราวปี พ.ศ.1887  ต่อมามีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจดีย์องค์ปัจจุบันที่อยู่ในสภาพดีนั้นเป็นเจดีย์ที่ก่อขึ้นมาใหม่บนฐานเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2058

      สถานที่ตั้งและการเดินทาง วัดเจดีย์หลวงอยู่ในภายในกำแพงเมืองเชียงแสน จากสามแยกเชียงแสนริมแม่น้ำโขง เลี้ยวขวามาตามเส้นทางสาย 1016 ประมาณ 300 เมตรก็ถึง วัดเจดีย์หลวงอยู่ทางซ้ายมือ


2.พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน





      ตั้งอยู่ติดกับวัดเจดีย์หลวงทางด้านทิศตะวันตก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500  เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณเมืองเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียงและจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับการตั้งชุมชน  นอกจากนี้ยังมีแบบจำลองการตั้งถิ่นฐานของชุมชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เชียงแสน

ค่าธรรมเนียมเข้าชม ท่านละ 10 บาท 
เปิดทำการตั้งแต่เวลา  09.00 – 16.00  .  ทุกวัน  ยกเว้นวันจันทร์  อังคาร  และวันหยุดนักขัตฤกษ์


3.วัดพระธาตุจอมกิตติ


(ที่มาของภาพ :  http://202.143.176.132/ict/dw57/5102/T29.html)

     เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่สร้างมาก่อนที่จะสร้างเมืองเชียงแสน ตำนานการสร้างยังสับสนเรื่อง พ.ศ. พระธาตุองค์เดิมพระเจ้าพังคราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อบรรจุพระธาตุ ( พระธาตุที่ได้รับมาพร้อมกับพระธาตุที่บรรจุที่พระธาตุดอยตุง และพระธาตุดอยจอมทอง ) สร้างเมื่อ พ.ศ. 1483  ต่อมาในสมัยเชียงแสนพระธาตุได้ทรุดโทรม เจ้าเมืองเชียงแสนจึงได้สร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2030 ซึ่งยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ แต่ว่าองค์พระธาตุเริ่มที่จะเอียงไปทางด้านทิศใต้แล้ว หวั่นว่าจะไม่คงไปอีกนาน
   องค์พระธาตุสร้างเป็นแบบทรงปราสาทยอดระฆัง หลังคารูปบัวคว่ำ ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ย่อมุมเป็นเรือนธาตุ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นทั้งสี่ด้าน บริเวณทิศตะวันออกมีโบสถ์ศิลปะล้านนาที่สร้างขึ้นเมื่อไม่นาน รูปแบบการสร้างเป็นศิลปะที่สวยงามอยู่  ด้านหน้าโบสถ์เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขง

  สถานที่ตั้งและการเดินทาง    พระธาตุจอมกิตติตั้งอยู่บนดอยจอมกิตติ อยู่บริเวณนอกกำแพงเมืองเชียงแสน   จากสามแยกเชียงแสนริมแม่น้ำโขง เลี้ยวขวามาตามเส้นทางสาย 1016 จนผ่านออกนอกกำแพงเมืองไปประมาณ 500 เมตรเจอแยกขวา เลี้ยวขวาไปตามถนนเส้นนี้จนกระทั่งเจอแยกซ้ายเข้าสู่บริเวณวัด  


4.วัดพระเจ้าล้านทอง

(ที่มาของภาพ : Aung Tung Kame)

     ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน เยื้องขึ้นมาจากวัดเจดีย์หลวงประมาณ 400 เมตร ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเรียกว่า พระเจ้าล้านทอง วัดนี้ตามตำนานระบุว่าสร้างราว พ.ศ. 2032 โดยพระยาศรีรชฎเงินกอง พระโอรสของพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์เชียงใหม่ เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้วได้เททองหล่อพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริดหนัก 1,200 กิโลกรัม เรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระเจ้าล้านทอง เป็นที่มาของชื่อวัดพระเจ้าล้านทอง  ปัจจุบันพระอุโบสถกำลังซ่อมแซมจึงยังไม่เห็นความงดงามและไม่สามารถเข้าไปในพระอุโบสถได้  ด้านหลังเป็นเจดีย์

5.วัดพระธาตุผาเงา

     
(ที่มาของภาพ : ไข่หวานน้อย)



     ตั้งอยู่นอกเมืองเชียงแสนไปตามเส้นทางเลาะแม่น้ำโขงสายเชียงแสน - เชียงของ ห่างจากตัวเมืองเชียงแสน 4 กิโลเมตร  หากไปจากตัวเมืองเชียงแสน วัดพระธาตุผาเงาตั้งอยู่ทางด้านขวามือประมาณหลักกิโลเมตรที่ 48 และ 49 จุดเด่นของวัดพระธาตุผาเงาคือองค์พระธาตุผาเงาที่ตั้งประดิษฐานอยู่บนก้อนหินหลังพระอุโบสถ ลักษณะเดียวกับเจดีย์พระธาตุอินแขวนของพม่า  ด้านหน้าของพระธาตุเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถเป็นพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิมที่เก่าพุพัง ในการสร้างได้ขุดพบพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบเชียงแสนที่มีความงดงาม ปัจจุบันพระพุทธรูปดังกล่าวตั้งประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ วัดนี้ไม่มีบันทึกว่าสร้างเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง  พระอุโบสถหลังใหม่ที่สร้างขึ้นมีลวดลายวิจิตรงดงามด้วยศิลปะแบบล้านนาเชียงแสนประยุกต์  ด้านหลังพระอุโบสถเป็นบรรไดนาคขึ้นไปสู่พระธาตุเก่าบนยอดเขาซึ่งตอนนี้เหลือแต่เพียงฐานศิลาแลง เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธ์ที่คนแถวนี้นับถือ 

ประเพณี

ประเพณีของคนเชียงแสน - ประเพณีการแข่งเรือ





(ที่มาของภาพ : krirung)

1.ประวัติความเป็นมา


      เดิมการแขงเรือ เกิดจากการที่ชาวบานอําเภอเชียงแสนและชาวบานจากฝงลาว ( สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ) ใชเรือในการประกอบอาชีพประมง เนื่องจากอําเภอเชียงแสนมีเขตพื้นที่ติด กับแมน้ําของ(โขง) ชาวบาน จะออกไปหาปลากันตามลําแมน้ําของ(โขง ) ในการหาปลาชาวบานจะใช อวนในการจับปลา ซ่ึงในแตละครั้งที่ทําการหาปลาจะตองใชเวลานานรอจนกวาปลามาติดอวนจากการหา ปลาในตอนเย็น จึงมีกิจกรรมทํายามวางระหวางที่รอปลามาติดอวน เชน การแขงกันวายน้ําขามเกาะ และการแขงพายเรือรอบเกาะ ที่ชาวบานเรียกวา เกาะดอนแหง แตปจจุบันเกาะกลางน้ําไดจมหายลงไปใต แมน้ําโขง จึงทําใหเหลือแตการแขงเรือพายเทานั้น เรือถือวาเปนพาหนะในการเดินทางไปมาหาสู กันทั้งชาวบานฝงไทยฝงลาวในอําเภอเชียงแสน การแขงเรือพายในอดีตเปนการแขงเพื่อความสนุกสนานก็ จะนิยมแขงกันเฉพาะในกลุมวงเหลาของชาวบานที่หาปลาดวยกัน เพื่อทาประลองกัน และ สรางความสนุกสนาน ความทาทาย โดยการดวลเหลาถาผูใดเปนฝายแพก็จะตองเลี้ยงเหลากับผูที่ชนะ

2. พิธีกรรมความเชื่อ


     2.1) พิธีกรรมการตัดตนไมทําเรือ การขุดเรือในอําเภอเชียงแสนในอดีตเปนการขุดเรือเพื่อนํามาทํา เปนเรือประมง ชาวบานมีความเชื่อวาการใชตนตะเคียนและตนสักนั้นจะมีนางตะเคียนนางไมสิงอยู เมื่อมี การตัดหรือโคนตนตะเคียนก็จะตองตรวจสอบลักษณะของตนไมวามีความเหมาะสมที่จะนํามาทําเรือและ ชาวบานในอําเภอเชียงแสนจะใชวิธีการขอขมาตนไมเพื่อที่จะนํามาทําเรือ ชาวบานจะทําพิธีขออนุญาตเจาที่ เจาทางกอนที่จะเดินทางไปตัดตนไมเพราะเชื่อวาจะทําใหการเดินทางเขาไปตัดตนไมจะราบรื่น ไมมี อุปสรรค ชาวบานจะเลี้ยงเหลาไหไกคูกับเจาที่เจาทางกอนที่จะเขาไปตัดไมมาทําเรือการเดินทางเขาไปตัด ตนไมชาวบานจะตองนําผูทําพิธีหรือพออาจารยผูเฒาผูแกไปดวยเพราะจะตองเขาไปทําพิธีสูมา(ขอขมา)แก ตนไมโดยจะมีแคสวยดอก(กรวยดอก) เปนอุปกรณหลักสําคัญในการทําพิธี

     2.2) พิธีกรรมการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอําเภอเชียงแสน กอนที่ถึงเทศกาลมหกรรมสงกรานต และประเพณีการแขงเรือ ชาวอําเภอเชียงแสนจะมีพิธีกรรมการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อาทิการบวงสรวง ทานทาวทั้ง ๔ คือ พระอินทรพระแมธรณีเทวดาอารักษพระธาตุจอมจิตติพระพรหม ทานทาวแสนภูเจา พอปาสักการบวงสรวงนี้จะทําขึ้นในชวงเชาของวันที่ ๑๒ เมษายน ของทุกปการบวงสรวงเพื่อที่จะใหสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาเมืองเชียงแสนไดรับรูรับทราบวา จะจัดงานขึ้น ผูทําพิธีจะเปนอาจารยวัด หรือพอครูเปน ผูวากลาวคําอธิฐาน ขอขมา โดยจะมีเครื่องสังเวย ตามที่ทานผูศักดิ์สิทธิ์ทานโปรดเชน หัวหมูตม ไกตม ไข ตม เหลาผลไมตางๆ ของหวาน ผาแพรหลากสีดอกไมขาว-เหลือง สายสิญจน๑ มวนใหญ เปนตน



ที่มา
1. http://www.chiangrai.net/dashboard5/Files/KMData_List/%7B567760_261125521611359%7D_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99.pdf

2. https://www.youtube.com/watch?v=6dokS6EHIHI


ที่กิน/อาหารพื้นเมือง

ร้านอาหารที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนเชียงแสน... 


1.บ้านไม้ในสวน





       อาหารอร่อย รสชาติถึงเครื่อง แนะนำบรรยากาศร้านตอนค่ำๆ เปิดเพลงเก่าๆเบาๆ เหมาะสำหรับมากันเป็นครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน

ที่อยู่ : 1290 (ติดถนน) เวียง , เชียงแสน , เชียงราย 57110
พิกัด : 20.306046, 100.09092

ราคาโดยประมาณ : 101 – 250 บาท


2.ร้านสามหญิง





       ร้านนี้อาจจะดูธรรมดาทั่วไป แต่รสชาติอาหารอร่อย ถ้าคุณมีโอกาสผ่านมาเที่ยวเชียงแสน ไม่ควรพลาดร้านนี้นะคะ เพราะทั้งอร่อย สะอาด และราคาไม่แพง

ที่อยู่ : 1016(ติดกับธนาคารกรุงไทยในอำเภอเชียงแสน) , เวียง , เชียงแสน , เชียงราย 57150
เวลาเปิดร้าน : เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08:30 – 17:30
ราคาโดยประมาณ : ต่ำกว่า 100 บาท
เบอร์โทรติดต่อ : 053777040


3.ร้านกาแฟมองดูน้ำ




       ร้านกาแฟราคาย่อมเยาว์ อยู่ติดริมแม่น้ำโขง ร้านเป็นร้านเล็กๆ ตกแต่งเรียบง่าย มองเห็นวิวฝั่งประเทศลาว เมนูแนะนำ เค้กมะพร้าว


ที่อยู่ : 1209 ( ริมโขง เชียงแสน ใกล้วัดผ้าขาวป้าน ) , เวียง , เชียงแสน , เชียงราย 57150
เวลาเปิดร้าน : เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08:30 – 18:00
ราคาโดยประมาณ : ต่ำกว่า 100 บาท

เบอร์โทรติดต่อ : 0835164763


อาหารที่แนะนำ



1.ขนมจีนน้ำแจ่ว


(ที่มาของภาพ : st_kolkaset)



2.ข้าวแรมฟืน


(ที่มาของภาพ : krirung)


3.ปลาช่อนปลากระบอก



(ที่มาของภาพ : 4Cus)


4.คั่วแคไก่



(ที่มาของภาพ : Princess of Napier)


5.ไก สาหร่ายน้ำจืด


(ที่มาของภาพ : ก๊อบซิล่าไม่หายไป)



6.เอาะหลาม



(ที่มาของภาพ : ThaiFoodMaster)